รู้จักกับโปรแกรม Authorware
โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
โปรแกรม Authorware ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Objtected Interfack ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ (Icon) แทนคำสั่ง ทำให้ง่ายและสะดวกในการใช้งาน
ความหมายของไอคอนที่ใช้ในโปรแกรม Authorware
Authorware จัดเป็นเครื่องมือนิพนธ์ (Authoring tool) เครื่องมือนิพนธ์ หมายถึงโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างงานมัลติมีเดีย ในการใช้มัน คุณไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญในเรื่องศิลปะของการโปรแกรมแบบเก่า เครื่องมือนิพนธ์มักพึ่งพาอาศัยไอคอนหรือวัตถุ (objects) แทนฟังค์ชันหนึ่งๆ เช่น การแสดงข้อความและภาพ การเล่นเสียง หรือการสร้างการโต้ตอบ
Authorware เป็นโปรแกรมการพัฒนาที่ใช้ ไอคอนเป็นพื้นฐาน (icon-based) มันมีสมรรถภาพสูง ทำให้ทุกคน ทั้งครู นักเรียนนักศึกษา ศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชา และโปรแกรมเมอร์สามารถพัฒนาผลงานมัลติมีเดียที่ซับซ้อนและยุ่งยากได้
การสร้างงานด้วย Authorware อาจพิจารณาออกเป็นขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ (1) ลากไอคอนจากถาด (icon palette) ไปวางบนเส้นฟโล (flowline) (2) ตั้งชื่อไอคอน (3) กำหนดการทำงาน (set up) ของไอคอน (4) วางไอคอนเพิ่มลงไปบนเส้นฟโล
Authorware แตกต่างไปจากเครื่องมือพัฒนาอื่นๆ คุณไม่จำเป็นต้องรู้ลักษณะเฉพาะทั้งหมดของมันเพื่อเป็นผู้สร้างสรรค์งาน Authorware ที่มีความสามารถ (เพราะแทบไม่มีใครรู้ทั้งหมด) ด้วยความรู้แม้เพียงเล็กน้อย คุณก็สามารถสร้างการโต้ตอบที่จะท้าทายเกือบทุกๆภาษาคอมพิวเตอร์ที่จะโปรแกรมมันออกมา และในขณะที่คุณขัดเกลางานของคุณ คุณก็จะเรียนรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ถึงสิ่งที่ Authorware สามารถทำให้คุณได้
อย่างไรก็ตาม อย่าเพียงแต่เรียนรู้ถึงคุณสมบัติความสามารถของ Authorware เท่านั้น คุณควรให้ความสนใจกับกระบวนการในการออกแบบ (process of design) ด้วย สร้างงานต้นแบบ (prototypes) เสียก่อน อย่าทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ (อย่างที่คุณอยากจะทำ) ก่อนที่จะนำมันออกแสดงให้คนอื่นๆเห็น ถามถึงความคิดเห็น (feedback) เกี่ยวกับงานต้นแบบของคุณ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังอยู่ในแนวทางที่ถูกต้อง ความคิดเห็นบางประการจะเป็นประโยชน์มาก คุณจะดีใจ ที่ไม่ได้ทำงานมากไปกว่านั้นในงานต้นแบบแรกของคุณ หากคุณเคยชินกับนิสัยในการสร้างต้นแบบ ผลที่คุณจะได้รับก็คือ การพัฒนาแอพพลิเคชันที่ประสพความสำเร็จและง่ายต่อการใช้งาน คุณจะประหยัดเวลาและเงินได้มากกว่าการออกแบบและวิธีการพัฒนาแบบเก่าอย่างที่คุณจะประหลาดใจ
มีหนังสือเกี่ยวกับ Authorware ถูกจัดพิมพ์ออกมาหลายเล่ม ท่านที่สนใจศึกษาการใช้งานสามารถหาอ่านได้ไม่ยาก สำหรับเว็บไซท์นี้ จะให้ข้อมูลเชิงอ้างอิง พยายามนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่มีในหนังสือ และเป็นสถานที่แลกเปลี่ยนความรู้ผ่านทาง forum เพื่อแสวงหาคำตอบให้แก่คำถามที่เราสงสัย
อนึ่ง แม้ว่า Authorware จะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีผู้นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2550 ก็ได้เกิดข่าวใหญ่ เมื่อบริษัท Adobe ได้ ประกาศยุติการพัฒนา Authorware (Authorware end-of-development (EOD)) ยังผลกระทบต่อบริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากทั่วโลก รวมถึงนักพัฒนามัลติมีเดีย มีการแนะนำให้นักพัฒนาเปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น Acrobat Professional, Presenter, Connect, Captivate, Director, Dreamweaver, Flash และ Flex ฯลฯ ทั้งนี้ นักพัฒนาไม่ควรพึ่งพาเครื่องมือหรือซอฟแวร์ตัวใดตัวหนึ่งเพียงตัวเดียว การเลือกใช้เครื่องมือใดนั้น ย่อมขึ้นกับความต้องการในการออกแบบ และประสิทธิภาพของเครื่องมือนั้นๆ เอง
โดย นางสาวสุวรรณา วงค์ศรีทา 5201016076
ที่มา
http://www.thaicai.com/authorware
http://www.kpsw.ac.th/vichit/media/authorware6/part01.php.htm
http://www.thaifwd.com/thread-766-1-1.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น